Get Adobe Flash player

               โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านนาขาม  เป็นโครงการหนึ่งในจำนวนประตูระบายน้ำ  5  แห่ง  ที่จะสร้างขึ้นภายในบริเวณลุ่มน้ำก่ำและลำน้ำสาขา  (ลุ่มน้ำบัง)   ที่กรมชลประทานได้พิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำจังหวัดสกลนคร – นครพนม ไว้ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่  23  พฤศจิกายน  2535  ณ.  บริเวณประตูระบายน้ำก่ำ  บ้านบึงศาลา ต.นาตงวัฒนา  กิ่ง อ.โพนนาแก้ว  จ.สกลนคร  โดยมีจุดประสงค์ที่จะขจัดปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณ  2 ฝั่งลำน้ำก่ำทั้งในเขตจังหวัดสกลนครและนครพนม  ในเรื่อง  น้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูและขาดแคลนน้ำทำการเกษตรรวมทั้งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งด้วย


ดู ประตูระบายน้ำใน คบ.พัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สัญลักษณ์  =ป้าย ,  =อาคาร ,  =ประตูระบายน้ำ ,  =สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ

วัตถุประสงค์หลักมี 3 ประการ คือ

2.1 เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณโครงการให้มีน้ำสำหรับทำการเกษตร  และอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง สอดคล้องกับความต้องการของราษฎรในพื้นที่อย่างพอเพียง

2.2 เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกบริเวณ  2  ฝั่งลำน้ำก่ำในช่วงฤดูฝนให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

2.3 พัฒนาการเกษตรกรรมจัดการเกษตรแบบผสมผสานระดมการสนับสนุนการพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนทั้งการให้ราษฎรในโครงการได้มีบทบาทมีส่วนร่วม


3. สถานที่ตั้งโครงการ

               โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านนาขาม  มีที่ตั้งโครงการอยู่ที่บ้านนาขาม  หมู่ที่  7  ต.วังยาง  กิ่ง อ. วังยาง  จ.นครพนม  พิกัด  48  QVD  391 – 799 ระวางแผนที่  5843  II

4. การคมนาคม

               การเดินทางเข้าสู่โครงการโดยทางรถยนต์ได้หลายเส้นทางด้วยกัน แต่โดยทั่วไปจะใช้เส้นทางถนนทางหลวงลาดยางหมายเลข  223  จากจังหวัดสกลนคร ถึง อ.นาแก  เป็นระยะทางประมาณ  42  กม.  ระหว่างหลักที่  42  และ  43  แล้วแยกซ้ายบริเวณบ้านดงครามไปตามถนนลูกรัง  ผ่านบ้านดอนข้าวหลามและบ้านส้มป่อยแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถึงโครงการรวมระยะทางประมาณ  6  กม.  ทุกเส้นทางใช้ได้ตลอดปี

5. ลักษณะและรายละเอียดโครงการ

ประเภทโครงการ เก็บกักและระบายน้ำ

ระดับน้ำเก็บกัก +148.00 ม.รทก.

ความจุในลำน้ำที่ระดับเก็บกัก 3.10 ล้าน ลบ.ม.

พื้นที่ผิวน้ำในลำน้ำที่ระดับเก็บกัก 500 ไร่

ระยะทางตามลำน้ำที่ระดับเก็บกัก 22.60 กม.

ระดับน้ำสูงสุด +148.300 ม.รทก.

ระดับท้องน้ำเดิมด้านท้ายน้ำ +140.600 ม.รทก.

ระดับท้องน้ำเดิมด้านเหนือน้ำ +139.250 ม.รทก.

อาคารประตูระบายน้ำ บานระบายชนิดบานโค้ง

ขนาดบานระบาย 3 – 6.00x7.50 ม.

ระดับสันฝายน้ำล้น (อาคารประตูระบายน้ำ) +141.00 ม.รทก.

ความสามารถในการระบายน้ำ 245.00 ม.3/วินาที

ระดับพื้นอาคาร  :

ด้านเหนือน้ำ +148.00 ม.รทก.

ด้านท้ายน้ำ +139.500 ม.รทก.

ชนิดบันไดปลาโจน Pool  Type

ลักษณะของอาคารฝายน้ำล้น   (Emergency  Spillway)

สันฝายกว้าง 4.00 ม.

ความยาวฝาย 200.00 ม.

ระดับสันฝาย +148.500 ม.รทก.

พนังป้องกันน้ำท่วม

ดินถมบดอัดแน่นชนิด Homogenous  Type

คันดินกว้าง 6.00 ม.

ลาดด้านข้าง 1:2

ความยาวคันดินรวม 1789.835 ม.

อาคารตามแนวคันดินจำนวน 9 แห่ง


5. ระยะเวลาดำเนินการ

               ระยะเวลาดำเนินการรวม  3  ปี  (ปีงบประมาณ  2538 – 2540)

6.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6.1   พื้นที่การเกษตรที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงประมาณ  14,100  ไร่  ในฤดูฝนประมาณ  4,922ไร่  ในฤดูแล้งมีราษฎรที่ได้รับผลประโยชน์จำนวน  7  หมู่บ้าน  577  ครัวเรือน  ราษฎรจำนวน  3,357   คน

6.2  ผลประโยชน์ที่จะได้จากการพัฒนาระบบการเกษตร

6.2.1 เกษตรกรจะสามารถวางแผนปลูกพืชและใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

6.2.2 เกษตรกรจะได้รับการส่งเสริมให้ทำการเลี้ยงสัตว์  เช่น  โคเนื้อ  และโคขุน  พร้อมๆ กับเลี้ยงปลาควบคู่กับกิจกรรมในการปลูกพืชเป็นกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานเอื้ออำนวยให้มีการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

6.2.3 ผลตอบแทนทางด้านการเกษตรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการพัฒนาระบบการเกษตร  จะมีผลตอบแทนเพิ่มโดยตรงประมาณร้อยละ  9.88  ต่อปี

6.2.4 ทำให้การอพยพแรงคนในพื้นที่ลดลง  เกษตรกรจะมีฐานะและกำลังทางเศรษฐกิจมั่นคงขึ้น


495767
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
758
553
2693
489670
12613
19128
495767

Your IP: 3.139.70.131
Server Time: 2024-04-25 18:25:22

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Nam Kam River Basin Operation And Maintenance Project. 

ที่ตั้ง : บ้านโนนสังข์ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110  โทร. 0-4205-9266

ออกแบบและพัฒนาโดย งานสารสนเทศ & KM Team