ดู ประตูระบายน้ำใน คบ.พัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สัญลักษณ์  =ป้าย ,  =อาคาร ,  =ประตูระบายน้ำ ,  =สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า


1.วัตถุประสงค์

               โครงการประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง จ.นครพน เป็นโครงการหนึ่งในแผนงานก่อสร้างหลัก โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บกักน้ำ สำหรับใช้เพื่อการชลประทาน การอุปโภค-บริโภค ในเขตโครงการประมาณ 22,000 ไร่ และทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำ ในฤดูน้ำหลากซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่น้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกในฤดูแล้ง


2.เป้าหมายของโครงการ

               เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ชนิดประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก บานระบายเหล็กโค้งขนาดความกว้าง 10.00 x 9.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง ในแต่ละปี ประตูระบายน้ำนี้ จะทำหน้าที่ระบายน้ำในฤดูฝน จากลำน้ำก่ำลงสู่แม่น้ำโขงคล้ายกับสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมความเค็มที่อาจเกิดขึ้นในอ่างเก็บน้ำ และทำหน้าที่เก็บกักควบคุม น้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน น้ำในอ่างเก็บน้ำจะลดระดับลงไปอยู่ในตัวลำน้ำก่ำนอกจากนี้ประตูระบายน้ำยังช่วยปิดกั้นไม่ให้น้ำในแม่น้ำโขงเอ่อท่วมเข้ามาในอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นการบรรเทาความรุนแรงของการเกิดน้ำท่วมอีกด้วย 


3.ลักษณะโดยทั่วไปของโครงการ

ที่ตั้งโครงการ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านโนนสังข์ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมรายละเอียดโครงการมีดังนี้
รายละเอียดทั่วไป
          1. พื้นที่รับน้ำ 3,440.00 ลบ.ม./วินาที
          2. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 1,401.00 ลบ.ม./วินาที
          3. ระดับเก็บกักต่ำสุด +136.50 ม.รทก.
          4. ระดับเก็บกักสูงสุด +137.50 ม.รทก.
          5. ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 16.40 ล้าน ลบ.ม.
          6. ความจุอ่างเก็บน้ำใช้การ 8.40 ล้าน ลบ.ม.
          7. พื้นที่ผิวน้ำท่วม 12.90 ตร.กม.
อาคารประตูระบายน้ำ
          - จำนวน 4 ช่อง ขนาด 10.00 x 9.00 ม.
          - ระดับสันฝายน้ำล้น +143.50 ม.รทก.
          - ความสามารถในการระบายน้ำ 1,200.00 ลบ.ม./วินาที
          - บันไดปลาโจน เป็นชนิด POOL TYPE มีขนาดห้องพักน้ำ 3.00 x 3.00 เมตร และมีความยาวรวม 108.00เมตร
งานส่วนประกอบอื่น
          1.ถนนเข้าหัวงานและภายในบริเวณงานสถานีสูบน้ำโขงและระบบเติมน้ำ (ระยะที่ 2 ตามแผนงานการพัฒนาน้ำก่ำตอนล่าง)เป็นการก่อสร้างเขื่อนเพื่อปิดลำน้ำเดิม สำหรับระบบสูบน้ำจากแม่น้ำโขง เพื่อนำมาเติมให้กับอ่างเก็บน้ำของโครงการในช่วงฤดูแล้งซึ่งจะสร้างในระยะที่ 2 ประกอบด้วย สถานีสูบน้ำริมแม่น้ำโขงเหลือปากน้ำก่ำ คลองเติมน้ำ สะพานและอาคารท่อลอดห้วยกุดแคน ราคาค่าก่อสร้างโครงการ ทั้งสิ้น 622,721,300.00 บาทแยกเป็น

          ระยะที่ 1 ก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ ราคา 391,233,700บาท
             - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 92,509,100.00บาท
             - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 149,362,300.00บาท
             - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 149,362,300.00บาท
          ระยะที่ 1 ก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบ ราคา 231,487,600บาท
             - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 100,878,200.00บาท
             - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 130,609,400.00บาท
          วิธีดำเนินงาน จ้างเหมา
              ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2549 - 2551)


4.ความก้าวหน้าในการดำเนินการ

          4.1 ด้านการออกแบบ (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100%)
             กรมชลประทานได้จ้างบริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด , บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท ที เอ แอนด์ คอลซัลแตนล์ จำกัด ทำการศึกษาและออกแบบ ซึ่งออกแบบแล้วเสร็จ เมื่อ เดือน กันยายน 2543
          4.2 ด้านการจัดหาที่ดิน (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100% ในพื้นที่ก่อสร้างหัวงาน คงเหลือบางส่วนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม)
             - พื้นที่บริเวณหัวงานฝั่งซ้ายของลำน้ำก่ำ และถนนเข้าโครงการ จำนวน 83 แปลง เนื้อที่ 300-3-86 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์
             - พื้นที่ในเขตน้ำท่วม จำนวน 1,648 แปลง เนื้อที่ 12,671-0-19 ไร่ ประกอบด้วย ที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ จำนวน 535 แปลง เนื้อที่ 3,511-1-75 ไร่ และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน 1,113 แปลง เนื้อที่ 9,159-2-44ไร่
             - คณะกรรมการตรวจสอบการจ่ายค่าทดแทนที่ดิน ได้มีมติกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ไว้ไร่ละ 37,000 บาท ส่วนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ไร่ละ 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 538,321,995.00 บาท โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548  ได้รับการจัดสรรงบฯ เพื่อจ่ายเท่ากับ 60,976,285.00 บาท และมีแผนการจ่ายในส่วนที่เหลือดังนี้
               (1) ปี 2549 จ่ายเป็นเงิน 400,000,000.00บาท
               (2) ปี 2550 จ่ายเป็นเงิน 77,345,710.00บาท
          4.3ด้านการก่อสร้าง
             หน่วยงานรับผิดชอบในการก่อสร้างคือ สำนักงานก่อสร้าง 3 สำนักโครงการขนาดใหญ่ ต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปร. ในปี 2548


5.ประโยชน์ที่จะได้รับ

          5.1 สามารถช่วยเหลือประชากรสำหรับทำการเกษตรได้ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น
          5.2สามารถส่งเสริมการทำการประมงของประชากรในพื้นที่
          5.3 เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของประชากรในพื้นที่ โครงการและบริเวณใกล้เคียง