Get Adobe Flash player

เมื่อวันที่ 4 ต.ค.65 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบายให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย เพื่อได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นขณะนี้ ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
 
(1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการพยากรณ์ และคาดการณ์ลักษณะอากาศวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย แจ้งให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ประสานไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพื่อแจ้งเตือนประชาชนผ่านทุกช่องทาง ไปถึงชุมชน หมู่บ้าน ให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัยในเบื้องต้น

(2) ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ เตรียมความพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล  สาธารณภัย ให้พร้อมออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย อาทิ การกำจัดวัชพืช ขยะตามเส้นทางน้ำ การพร่องน้ำในแหล่งน้ำ การเร่งระบายน้ำ/การเปิดทางน้ำ/ผลักดันน้ำ ออกจากพื้นที่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
 
(3) กำชับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้าง บำรุงรักษาถนน ในการตรวจสอบปรับปรุง กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาโครงการที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการระบายน้ำในช่วงฝนตกหนัก พร้อมทั้งให้จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร ติดตั้งป้าย/สัญญาณจราจรแจ้งเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวัง หรือหลีกเสี่ยงเส้นทางดังกล่าวให้ชัดเจน โดยให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากถนนให้ครบถ้วน ทั้งทางลอด การติดตั้งสัญญาณจราจร ป้าย ควรแจ้งเตือนและเฝ้าระวังเส้นทางหลีกเลี่ยง และควรปักแนวถนน สำหรับรถวิ่งผ่าน ในกรณีที่ถนนน้ำท่วม
 
(4) เมื่อสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่คลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
 
(5) เมื่อเกิดน้ำท่วมขังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตลอดจนเชิญชวนประชาชนจิตอาสา ร่วมเฝ้าระวัง และร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร ตลอดจนภาคเอกชน ในการใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ และการช่วยเหลือประชาชน
 
(6) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงแผนการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในระดับพื้นที่ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการตามที่ประชาชนได้มีการร้องขอ
 
(7) ให้กรมประชาสัมพันธ์ และจังหวัด ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างการรับรู้ผลการดำเนินการของภาครัฐ แก่พี่น้องประชาชนให้รวดเร็ว ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

 (8) การให้บริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ต้องให้บริการได้นานและต่อเนื่องที่สุด และต้องมีแผนสำรองด้านการสื่อสาร

(9) ให้เตรียมแผนรองรับในพื้นที่เศรษฐกิจ โรงพยาบาล สาธารณสุข เกษตรกร ชาวประมง ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ให้มีแผนสื่อสารที่ชัดเจนว่าจะได้รับการดูแลอะไรบ้าง
 
(10) การเตรียมความพร้อมศูนย์อพยพต้องเพียงพอ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
 
“นายกรัฐมนตรีย้ำถึงการเดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ โดยต้องการไปให้กำลังใจประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลประชาชนเป็นสำคัญ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด” นายอนุชาฯ กล่าว

‘เฉลิมชัย’ ห่วงใยประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัด พร้อมสั่งกรมชลประทานระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่กว่า 200 เครื่อง ผันน้ำลงทะเลเกือบ 2 พันล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ด้วยความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ประสบความยากลำบากจากอุทกภัยที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโนรูและฝนที่ตกหนักในพื้นที่ ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งระดมกำลังคน เครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัด โดยบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและท้องถิ่นเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด

 

สำหรับจังหวัดลุ่มเจ้าพระยา จังหวัดปริมณฑล และกรุงเทพมหานครได้เร่งผันน้ำลงทะเล โดยกรมชลประทานได้ระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่อย่างน้อย 220 เครื่อง ที่ติดตั้งตามสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำสูบน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก สูบน้ำลงแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกงทางฝั่งตะวันออก และสูบลงอ่าวไทยทางทิศใต้ คิดเป็นปริมาณวันละ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 525 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และกำลังติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เพิ่มเติมอีก

นายเฉลิมชัยกล่าวว่า หากรวมปริมาตรน้ำที่กรมชลประทานสูบน้ำและผันน้ำล่วงหน้ารองรับฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม จนถึงวันนี้มีจำนวนเกือบ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเทียบเท่ากับปริมาณน้ำกว่า 2 เท่าครึ่งของความจุเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และยังเร่งรัดผลักดันน้ำลงทะเลอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนการบริหารจัดการน้ำทั้งตอนเหนือและใต้เขื่อนเจ้าพระยาได้ผันน้ำทุกช่องทางทั้งฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกและฝั่งใต้ รวมทั้งพื้นที่แก้มลิงลงทุ่งที่เตรียมไว้ โดยให้มีผลกระทบต่อประชาชนและเกษตรกรน้อยที่สุด พร้อมกำชับให้ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำตลอดเส้นทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและเปิดทางให้น้ำไหลได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

 

ที่มา : ข่าวมติชน

‘เฉลิมชัย’ ห่วงใยประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัด พร้อมสั่งกรมชลประทานระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่กว่า 200 เครื่อง ผันน้ำลงทะเลเกือบ 2 พันล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ด้วยความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ประสบความยากลำบากจากอุทกภัยที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโนรูและฝนที่ตกหนักในพื้นที่ ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งระดมกำลังคน เครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัด โดยบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและท้องถิ่นเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด

 

สำหรับจังหวัดลุ่มเจ้าพระยา จังหวัดปริมณฑล และกรุงเทพมหานครได้เร่งผันน้ำลงทะเล โดยกรมชลประทานได้ระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่อย่างน้อย 220 เครื่อง ที่ติดตั้งตามสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำสูบน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก สูบน้ำลงแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกงทางฝั่งตะวันออก และสูบลงอ่าวไทยทางทิศใต้ คิดเป็นปริมาณวันละ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 525 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และกำลังติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เพิ่มเติมอีก

นายเฉลิมชัยกล่าวว่า หากรวมปริมาตรน้ำที่กรมชลประทานสูบน้ำและผันน้ำล่วงหน้ารองรับฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม จนถึงวันนี้มีจำนวนเกือบ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเทียบเท่ากับปริมาณน้ำกว่า 2 เท่าครึ่งของความจุเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และยังเร่งรัดผลักดันน้ำลงทะเลอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนการบริหารจัดการน้ำทั้งตอนเหนือและใต้เขื่อนเจ้าพระยาได้ผันน้ำทุกช่องทางทั้งฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกและฝั่งใต้ รวมทั้งพื้นที่แก้มลิงลงทุ่งที่เตรียมไว้ โดยให้มีผลกระทบต่อประชาชนและเกษตรกรน้อยที่สุด พร้อมกำชับให้ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำตลอดเส้นทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและเปิดทางให้น้ำไหลได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

 

ที่มา : ข่าวมติชน

481870
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
488
463
3320
474463
17844
14604
481870

Your IP: 34.238.242.168
Server Time: 2024-03-29 17:02:26

มี 6 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Nam Kam River Basin Operation And Maintenance Project. 

ที่ตั้ง : บ้านโนนสังข์ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110  โทร. 0-4205-9266

ออกแบบและพัฒนาโดย งานสารสนเทศ & KM Team